* ดอยอ่างขาง *
ดอยอ่างขาง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,400 เมตร คำว่า "อ่างขาง" ภาษาเหนือหมายถึง อ่างรูปสี่เหลี่ยมตามลักษณะของดอยอ่างขาง ซึ่งเป็นดอยที่มีรูปร่างของหุบเขา ยาวล้อม รอบประมาณ 5 กิโลเมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ตรงกลางของอ่างขางเดิมเป็นภูเขาสูง เช่นเดียวกับบริเวณโดยรอบ แต่เนื่องจากเป็นภูเขาหินปูน เมื่อถูกน้ำฝนชะก็จะค่อย ๆ ละลายเป็นโพรงแล้วยุบตัวลงกลายเป็นแอ่ง มีพื้นที่ราบ ความกว้างไม่เกิน 200 เมตร ซึ่งเป็นที่ตั้งของ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
กำเนิดสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตามประวัติเล่ากันมาว่า ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้ และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้น ก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอ ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้ ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่งสำคัญต่อระบบนิเวศน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร
จึงทรงมีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก ไม่มีป่าไม้อยู่เลย และสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับพระองค์ทรงทราบว่า ชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง จึงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณ ดอยอ่างขาง ส่วนหนึ่ง
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จึงกำเนิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า "ให้เขาช่วยตัวเอง" เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่น มาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเดิม
นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมภายในสถานีเกษตรหลวงอ่างขางได้
ภายในสถานีมีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว โดยมุ่งที่หาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่น ทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
นำรถเข้าไปได้สามารถขับรถวนเป็นวงกลม
ค่าเข้าชมคนละ 50 บาท ยานพาหนะคันละ 50 บาท (บัตรจอดรถสามารถใช้เป็นส่วนลดในการรับประทานอาหารที่สโมสรอ่างขาง 100 บาทขึ้นไป ไม่รวมค่าเครื่องดื่มและใช้ได้ครั้งเดียวจ๊า..)
นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมแปลงทดลองปลูกไม้ผลเมืองหนาว ได้แก่ ท้อ บ๊วย พลัม ฯลฯ
โรงเรือนกุหลาบตัดดอก ภายในโรงเรือนจะรวบรวมกุหลาบตัดดอกเพื่อการค้า ซึ่งจะมีเอกลักษณ์คือ เป็นกุหลาบที่มีกลิ่นหอม
แปลงปลูกผัก แปลงปลูกผักในร่ม แปลงดอกไม้ เช่น คาร์เนชั่น กุหลาบ แอสเตอร์ เบญจมาศ ฯลฯ
โรงเรือนรวบรวมพันธุ์ผัก จัดแสดงพันธุ์ผักเมืองหนาวชนิดต่างๆ ที่ปลูกในพื้นที่โครงการหลวงให้ผู้สนใจเข้าเยี่ยมชม ซึ่งมีผักแปลกหลายชนิด เช่น สวิสชาร์ด กะหล่ำม่วง กะหล่ำดาว อาติโช๊ค เซเลอรี่ พาร์สเลย์ รูบาร์บ เป็นต้น
เรือนดอกไม้ เป็นโรงเรือนจัดแสดงไม้ดอกเมืองหนาวในร่ม
อาทิ เจอราเนียม พิทูเนีย โคมญี่ปุ่น
กล้วยไม้ซิมบีเดียม และรองเท้านารีพันธุ์ต่างๆ
พื้นที่ส่วนหนึ่งถูกจัดเป็นที่จำหน่ายของฝากของที่ระลึก จากโครงการหลวงม เช่น ผลผลิตผัก ไม้ผล ดอกไม้ ไม้ดอกกระถาง และ ผลภัณฑ์แปรรูป เช่น ผลไม้อบแห้ง แยมผลไม้ น้ำผลไม้ น้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
กิจกรรมปั่นจักรยาน ขี่ฬ่อชมธรรมชาติ การดูนก หมู่บ้านคุ้ม หมู่บ้านหลวง จุดชมพระอาทิตย์ยามเช้า จุดชมวิวชายแดนไทย-พม่า จุดสูงสุดดอยอ่างขาง
สวนบอนไซ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วย ฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
จุดชิมชา เป็นจุดสาธิต วิธีการชงชา และมีบริการชาให้นักท่องเที่ยวได้ชิม ซึ่งเป็นชาเขียวที่เกษตรกรในพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางปลูก
สวนแปดสิบ สวนนี้ตั้งชื่อในวาระที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงมีพระชนม์มายุครบ 80 ชันษา ภายในสวนมีไม้ดอกนานาพรรณ เช่น แมกโนเลีย คาเมลเลีย ซากุระญี่ปุ่น อัลสโตรมีเลีย แพนซีไวโอล่า กะหล่ำแฟนซี เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี สวนและแปลงไม้ดอก ผลไม้เมืองหนาวอีกมากมาย ได้แก่
สวนหอม ในสวนรวบรวมพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด อาทิ หอมหมื่นลี้ มิชิเลีย ลาเวนเดอร์ มะลิเลื้อย มะลิเนปาล
สวนคำดอย เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน (กุหลาบพันปี) สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดสวนเป็นแบบผสม
สวนสมเด็จ เป็นสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงใช้ประทับพักผ่อนในครั้งที่เสด็จสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งในสวนจะมีไม้ดอก ประเภทฝิ่นประดับ ป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดอื่นๆ
กุหลาบอังกฤษ เป็นสวนที่รวบรวมกุหลาบสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศอังกฤษทั้งหมดกว่า 200 สายพันธุ์ และในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเป็นเวลาที่กุหลาบอังกฤษออกดอกบานสะพรั่งมากที่สุด
พระตำหนัก เป็นที่ประทับในช่วงที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาประทับแรม ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยรอบบริเวณมีต้นเมเปิลหอมรายล้อม และพันธุ์ไม้เมืองหนาวหลากชนิด
หิวกันหรือยัง...หาไรกินได้ หน้าสวนแปดสิบ จะเป็นสโมสรอ่างขาง
หากยังไม่อิ่ม ออกมาเดินเล่นหน้าสถานีเกษตร มีร้านค้าของชาวบ้านให้เลือกซื้ออีกมากมาย
เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป
ก่อนเข้าหมู่บ้านขอบด้ง จะเป็นจุดชมวิวบ้านขอบด้ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ยามเช้า ที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง นักท่องเที่ยวบางกลุ่ม นิยมมาตั้งเต้นท์รอชมพระอาทิตย์และทะเลหมอกกัน ส่วนเรื่องอาหารการกิน นั้นหายห่วง มีร้านค้าเล็กๆ อยู่หลายร้าน คอยเปิดบริการนั่งท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน
หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,500 - 3,000 บาท ขึ้นอยู่กับเส้นทางการท่องเที่ยวมากน้อย ต่อรองกันไป
แม้ว่าเส้นทางจะหนักหนาสำหรับนักเดินทางหลายๆ คน แต่เมื่อได้ขึ้นมาสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ พร้อมด้วยดอกไม้สวยๆ รอบๆ เต็มไปด้วยสีชมพู ความกลัว และเหนื่อยล้าก็เลือนหายไป
ฤดูกาลท่องเที่ยว สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมที่สุดคือฤดูหนาว
บริการที่พัก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 140 คน
- บ้าน AK หลังใหญ่ พักได้ 47 คน
- บ้าน AK 1-20 จำนวน 20 หลัง พักได้หลังละ 2 คน
- บ้านริมดอย จำนวน 6 หลัง พักได้หลังละ 6 คน
- มีบริการพื้นที่กางเต็นท์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 500 คน บริการเช่าเต็นท์และถุงนอน
สถานที่ติดต่อ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-450107-9
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีฯอ่างขาง โทรศัพท์ 053-450077
เดินออกมาด้านนอกกันหน่อย เป็นเสื้อ กับโปสการ์ด...
กิจกรรมปั่นจักรยาน ขี่ฬ่อชมธรรมชาติ การดูนก หมู่บ้านคุ้ม หมู่บ้านหลวง จุดชมพระอาทิตย์ยามเช้า จุดชมวิวชายแดนไทย-พม่า จุดสูงสุดดอยอ่างขาง
สวนบอนไซ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่างประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันก็มีสวนสมุนไพรด้วย ฤดูท่องเที่ยวอยู่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
จุดชิมชา เป็นจุดสาธิต วิธีการชงชา และมีบริการชาให้นักท่องเที่ยวได้ชิม ซึ่งเป็นชาเขียวที่เกษตรกรในพื้นที่ สถานีเกษตรหลวงอ่างขางปลูก
ไปกันต่อ...มองทางไหนก็สดชื่น...
สวนแปดสิบ สวนนี้ตั้งชื่อในวาระที่หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวงมีพระชนม์มายุครบ 80 ชันษา ภายในสวนมีไม้ดอกนานาพรรณ เช่น แมกโนเลีย คาเมลเลีย ซากุระญี่ปุ่น อัลสโตรมีเลีย แพนซีไวโอล่า กะหล่ำแฟนซี เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมี สวนและแปลงไม้ดอก ผลไม้เมืองหนาวอีกมากมาย ได้แก่
สวนหอม ในสวนรวบรวมพรรณไม้ที่มีกลิ่นหอมนานาชนิด อาทิ หอมหมื่นลี้ มิชิเลีย ลาเวนเดอร์ มะลิเลื้อย มะลิเนปาล
สวนคำดอย เป็นสวนที่รวบรวมพันธุ์ไม้ตระกูลโรโดเดนดรอน (กุหลาบพันปี) สายพันธุ์ต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยจัดสวนเป็นแบบผสม
สวนสมเด็จ เป็นสวนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงใช้ประทับพักผ่อนในครั้งที่เสด็จสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งในสวนจะมีไม้ดอก ประเภทฝิ่นประดับ ป๊อปปี้ และไม้เมืองหนาวชนิดอื่นๆ
กุหลาบอังกฤษ เป็นสวนที่รวบรวมกุหลาบสายพันธุ์นำเข้าจากประเทศอังกฤษทั้งหมดกว่า 200 สายพันธุ์ และในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีจะเป็นเวลาที่กุหลาบอังกฤษออกดอกบานสะพรั่งมากที่สุด
พระตำหนัก เป็นที่ประทับในช่วงที่มีพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จมาประทับแรม ณ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยรอบบริเวณมีต้นเมเปิลหอมรายล้อม และพันธุ์ไม้เมืองหนาวหลากชนิด
หิวกันหรือยัง...หาไรกินได้ หน้าสวนแปดสิบ จะเป็นสโมสรอ่างขาง
เข้ามาด้านใน ...หาผักสลัดสดๆ ทานสักจาน ^_^
หากยังไม่อิ่ม ออกมาเดินเล่นหน้าสถานีเกษตร มีร้านค้าของชาวบ้านให้เลือกซื้ออีกมากมาย
อิ่มแล้ว ...ไปเที่ยวกันต่อ อิอิ
เที่ยวบ้านขอบด้ง สัมผัสวิถีชีวิตชาวเขาเผ่ามูเซอ เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่า มูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตร และด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของ ชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้าน โดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป
ก่อนเข้าหมู่บ้านขอบด้ง จะเป็นจุดชมวิวบ้านขอบด้ง เป็นจุดชมพระอาทิตย์ยามเช้า ที่สวยงามอีกจุดหนึ่ง นักท่องเที่ยวบางกลุ่ม นิยมมาตั้งเต้นท์รอชมพระอาทิตย์และทะเลหมอกกัน ส่วนเรื่องอาหารการกิน นั้นหายห่วง มีร้านค้าเล็กๆ อยู่หลายร้าน คอยเปิดบริการนั่งท่องเที่ยวตลอดทั้งวัน
การเดินทางสู่ ดอยอ่างขาง
สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง
• เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ เส้นทางนี้จะไม่ชันมาก แต่ก็ยังต้องขึ้นเขา และมีโค้งสูงชันบ้างเป็นบางที่ ถนนลาดยางตลอดเส้นทาง หากมาตรงกับช่วงดอกนางพญาเสือโคร่งกำลังบาน จะสวยมาก ถนนจะเป็นสีชมพู สลับกับภูเขาสูง ฯเห็นแบบนี้...ไม่จอด ก็บ้าแล้ว... แวะถ่ายรูปกันหน่อย นั่งชมวิวชิวๆ ^_^
• เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ถึงกิโลเมตร 137 แยกปากทางอ่างขาง หน้าวัดหาดสำราญ เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร
>>>> คลิกดูตัวอย่าง ถนนขึ้นดอยอ่างขาง
หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,500 - 3,000 บาท ขึ้นอยู่กับเส้นทางการท่องเที่ยวมากน้อย ต่อรองกันไป
แม้ว่าเส้นทางจะหนักหนาสำหรับนักเดินทางหลายๆ คน แต่เมื่อได้ขึ้นมาสัมผัสกับอากาศเย็น ๆ พร้อมด้วยดอกไม้สวยๆ รอบๆ เต็มไปด้วยสีชมพู ความกลัว และเหนื่อยล้าก็เลือนหายไป
ริมทางยังมีร้านค้าของชาวบ้าน เปิดขายเป็นจุดๆ แวะเลือกซื้อของฝากกันได้จุใจ
ฤดูกาลท่องเที่ยว สามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงที่นักท่องเที่ยวนิยมที่สุดคือฤดูหนาว
บริการที่พัก สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 140 คน
- บ้าน AK หลังใหญ่ พักได้ 47 คน
- บ้าน AK 1-20 จำนวน 20 หลัง พักได้หลังละ 2 คน
- บ้านริมดอย จำนวน 6 หลัง พักได้หลังละ 6 คน
- มีบริการพื้นที่กางเต็นท์ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้จำนวน 500 คน บริการเช่าเต็นท์และถุงนอน
สถานที่ติดต่อ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-450107-9
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีฯอ่างขาง โทรศัพท์ 053-450077