พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) เที่ยวเส้นทางตามแนวพระราชดำริ
ตั้งอยู่ที่บ้านยาง หมู่ที่ 12 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงแนวพระราชดําริในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในช่วงที่ความหนาวเย็นเชื้อเชิญนักท่องเที่ยว ให้ไต่ภูขึ้นดอยกัน ดอยอ่างขางก็ยังคงเป็นอันดับต้นๆ ที่หลายๆ คนนึกถึง เพื่อสัมผัสกับความเย็น แต่ก่อนขึ้นสู่ดอยอ่างขางนั้น ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่สำคัญซึ่งเราไม่ควรพลาด หากได้เดินทางมาถึง อ.ฝางแล้ว
โดยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552
และเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2552 เป็นต้นมา
ต้องบอกก่อนว่า ไม่ได้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงความเป็นมาแบบเชยๆ แต่เขานำเสนอด้วยรูปแบบที่น่าสนใจ การันตีฝีมือโดยเกล้ามาศ ยิบอินซอย จากมูลนิธิเกี่ยวกับศิลปะ, รักลูกกรุ๊ป แบ่งเป็นห้องต่างๆ เป็นแหล่งเรียนรู้ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต (living site museum) ที่บูรณาการวิถีชีวิตชาวบ้านในบริเวณนั้นเอาไว้ด้วย
ตั้งอยู่ที่บ้านยาง หมู่ที่ 12 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ จัดตั้งขึ้น เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ ในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงการศึกษาด้านอุตสาหกรรมการเกษตรแปรรูป และเป็นสถานที่รวบรวมและจัดแสดงแนวพระราชดําริในการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ในช่วงที่ความหนาวเย็นเชื้อเชิญนักท่องเที่ยว ให้ไต่ภูขึ้นดอยกัน ดอยอ่างขางก็ยังคงเป็นอันดับต้นๆ ที่หลายๆ คนนึกถึง เพื่อสัมผัสกับความเย็น แต่ก่อนขึ้นสู่ดอยอ่างขางนั้น ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ที่สำคัญซึ่งเราไม่ควรพลาด หากได้เดินทางมาถึง อ.ฝางแล้ว
โดยสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทอดพระเนตร เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552
และเปิดให้ประชาชนเข้าชมตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2552 เป็นต้นมา
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากเกิดน้ำท่วม และดินโคลนถล่มในพื้นที่ ต.แม่งอน และต.แม่ข่า อ.ฝาง ทำให้โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) ได้รับความเสียหายเกือบทั้งหมด สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จึงได้มีดำริให้ฟื้นฟูโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) จึงได้มีการดำเนินการก่อตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ขึ้น
บอกเล่าความเฉพาะตัวของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ที่ต้องการให้การเรียนรู้ไม่ถูกจำกัดไว้แค่ภายในตัวอาคาร
ภายในห้องนี้ จัดฉายหนังสั้น ขาวดำ บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนบ้านยาง
ข้าวของ เครื่องใช้ที่ได้รับบริจาค มากมาย
2. ลานอเนกประสงค์
พื้นที่สำหรับจัดกิจกรรม การแสดง หรือนิทรรศการกลางแจ้ง
ซึ่งจัดให้มีหมุนเวียนสลับกันไปตลอดทั้งปี
หากต้องการเที่ยวให้ได้ความรู้ ต้องใช้บริการ มัคคุเทศก์ตัวน้อย
อัธยาศัยดี น่ารัก คอยให้คำแนะนำ
3. กำเนิดโครงการหลวง
แสดงพระราชวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาภาคเหนืออย่างยั่งยืน และเรื่องราวของโครงการหลวง ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีที่นานาชาติยกย่อง
รถโฟล์ค (Volkswagen) รถยนต์พระราชทานเมื่อแรกก่อตั้งโรงงานหลวงสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)
รถโครงการหลวงคันแรกที่ใช้ในการส่งของ ปัจจุบันยังใช้ได้อยู่ แต่เก็บรักษาไว้เป็นอนุสรณ์
เป็นรถยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่น 181 (ในบางประเทศอาจเรียกรถรุ่นนี้แตกต่างกันไป เช่น Thing, Safari, Trekker เป็นต้น) ผลิตในประเทศเยอรมันนีระหว่างปี พ.ศ. 2515-2526 เครื่องยนต์ขนาด 1,500 ซีซี วางเครื่องด้านท้ายรถ
เป็นรถยี่ห้อโฟล์คสวาเกน รุ่น 181 (ในบางประเทศอาจเรียกรถรุ่นนี้แตกต่างกันไป เช่น Thing, Safari, Trekker เป็นต้น) ผลิตในประเทศเยอรมันนีระหว่างปี พ.ศ. 2515-2526 เครื่องยนต์ขนาด 1,500 ซีซี วางเครื่องด้านท้ายรถ
4. กำเนิดโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)
แสดงวิสัยทัศน์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการต่อยอดโครงการหลวง ด้วยการตั้งโรงงานหลวงฯ ที่ ๑ (ฝาง) ทั้งทรงให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากร และงานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้ ยังแสดงเหตุการณ์น้ำป่าเมื่อปี ๒๕๔๙ ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโรงงานอันนำมาสู่โรงงานในปัจจุบัน
ห้องแสดงหนังเงา ไม่เคยเห็นมาก่อน ชอบ ^_^
โรงงานชั่วคราว (Temporary Factory) จำลองสภาพโรงงานชั่งคราว
ซึ่งตั้งอยู่ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านยาง เมื่อปี พ.ศ. 2515 พนักงานส่วนใหญ่เป็นชาวจีนยูนนานบ้านยาง
ผลิตภัณฑ์ชนิดแรกคือ "ลูกท้อลอยแก้วบรรจุกระป๋อง"
ภาพวาดสีน้ำฝีมือนายสือสง แซ่ย่าง
นิทรรศการภาพถ่ายชาติพันธุ์ นำเสนอเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ 1 (ฝาง) กับชุมชนบ้านยางและชาวไทยภูเขา ผ่านมุมมองของช่างภาพมืออาชีพได้แก่ นพดล ขาวสำอางค์ ชำนิ ทิพย์มณี กรกฤช เจียรพินิจนันท์
5. บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด
สัมผัสโครงการหลวงอย่างบูรณาการ
ชาวจีนยูนนานวัย 92 ปี (ปี 2552)
อดีตกรรมการหมู่บ้านบ้านยาง และเป็นหนึ่งในชาวจีนยูนนานกลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่นี่ อากงสือสงรู้สึกทราบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ให้พวกตนอยู่อาศัยบนแผ่นดินไทย จึงแสดงความรู้สึกผ่านภาพวาดนี้ ซึ่งอธิบายว่า นกที่อยู่ในภาพ หมายถึง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ส่วนขุนเขา หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นกและขุนเขาคู่กัน หมายถึง ความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์ของแผ่นดิน ในวันเปิดพิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ ๑ (ฝาง) เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2552 อากงสือสงได้แสดงการวาดภาพสีน้ำถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วย
ภาพถ่าย, น้ำป่า,เครื่องจักรเก่า, โรงงานสีเขียว
ภาพบ้านดินที่เหลืออยู่เพียงหลังเดียวในหมู่บ้าน
ปัจจุบันได้มีการปลูกสร้างเพิ่มเติมขึ้นมาแล้ว
บอกเล่าประวัติ และบทบาททางสังคมของบริษัทฯ โดยจัดแสดงอยู่ภายในร้านจำหน่ายสินค้าดอยคำ อีกทั้งยังมีพื้นที่ สำหรับผู้สนใจศึกษาข้อมูล และงานวิจัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับพิพิธภัณฑ์ฯ โรงงานฯ และชุมชนโดยรอบ ที่บริเวณชั้นลอยของห้องอีกด้วย
ร้านขายของที่ระลึก ที่มีมุมกาแฟนั่งชิวๆ ริมระเบียง
สัมผัสโครงการหลวงอย่างบูรณาการ
นอกจากพิพิธภัณฑ์แล้ว ยังมีโรงงานผลิตเครื่องกระป๋องบรรจุขวด โรงงานน้ำดื่ม น้ำตกบ้านยาง โรงหมอแปลงสมุนไพร โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านยาง โรงเรียนสอนภาษาจีน ศาลเจ้าแม่กวนอิม บ้านดินที่เหลืออยู่เพียงหลังเดียวในหมู่บ้าน โบสถ์คริสต์ ตลาดสด มัสยิด จะเดินเข้าออกบ้านไหน ใครๆ ต่างก็ยิ้มรับและมีไมตรีจิต รวมทั้งที่พักแบบโฮมสเตย์ในราคาประหยัด
การเดินทาง
จากเชียงใหม่มุ่งหน้าอำเภอฝาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทาง 150 กิโลเมตร ถึงแยกอ่างขาง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกเพียง 9 กิโลเมตร ส่วนถ้าจะขึ้นดอยอ่างขางก็วิ่งต่อไปอีกราว 40 กว่านาทีก็ถึง
หาไม่เจอนี่เลย แผนที่... http://www.firstroyalfactory.org/main.php?m=contact
เปิดให้เข้าชม วันอังคาร - วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. เข้าชมฟรี เวลาทำการพิพิธภัณฑ์
การเดินทาง
จากเชียงใหม่มุ่งหน้าอำเภอฝาง ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 ระยะทาง 150 กิโลเมตร ถึงแยกอ่างขาง แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีกเพียง 9 กิโลเมตร ส่วนถ้าจะขึ้นดอยอ่างขางก็วิ่งต่อไปอีกราว 40 กว่านาทีก็ถึง
หาไม่เจอนี่เลย แผนที่... http://www.firstroyalfactory.org/main.php?m=contact
เปิดให้เข้าชม วันอังคาร - วันอาทิตย์
ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. เข้าชมฟรี เวลาทำการพิพิธภัณฑ์
สอบถามเพิ่มเติมโทร.0-5329-3630
เวปไซต์ http://www.firstroyalfactory.org/
เวปไซต์ http://www.firstroyalfactory.org/