ทักทายกันหน่อย

สวัสดีค่ะ สำหรับท่านที่หลงเข้ามาในบล็อคนี้ ^_^
ยินดีต้อนรับทุกคนจ๊า ฝางทริปบล็อคจัดทำขึ้นมาเพื่อรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับ อ.ฝาง โดยหวังเล็กๆ ว่าคงจะเป็นประโยชน์กับใครสักคนที่จะเดินทางเข้ามาที่นี่ บทความและภาพถ่ายทั้งหมด แม้จะไม่ค่อยสวยแต่ก็หวงนะจ๊ะ ไม่อนุญาตให้ทำสำเนาหรือดัดแปลง หากต้องการเผยแพร่ รบกวนให้เครดิตบล็อคด้วยนะจ๊ะ

วัดพระธาตุสบฝาง

วัดพระธาตุสบฝาง
 พระธาตุสบฝาง องค์พระมหาเจดีย์ที่ชาวพุทธไม่ควรลืมไม่สักการะครั้งหนึ่งในชีวิต
                สถานที่บรรจุพระนลาฏธาตุ(กระดูกในส่วนหน้าผาก)ของพระพุทธเจ้า   ที่ชาวพุทธหลายท่านยังไม่เคยไปสัมผัส      เพื่อกราบไหว้ต่อองค์พระศาสนดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ได้มาประดิษฐาน ณ ดินแดนล้านนาแห่งนี้เป็นเวลาเกือบ 1,600 ปี
ตั้งอยู่เลขที่ 141/1 บ้านแม่เมืองน้อย (ป๊อกป่ายาง)  หมู่ที่ 7 ต.แม่นาวาง  เป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยว อ.แม่อาย อีกแห่งหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด  สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 100 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือจดน้ำแม่กก ทิศใต้จดแม่น้ำฝาง ทิศตะวันออกจดบ้านป๊อกป่ายาง ทิศตะวันตกจดแม่น้ำกก 
               เป็นวัดโบราณตามประวัติพระเจ้าพรหมหาราช     เป็นผู้ทรงสร้างในสมัยที่พระองค์ทรงสร้างเมืองไชยปราการแล้วได้สร้างวัด พระธาตุสบฝางไว้บนเขาลูกหนึ่งตรงปากแม่น้ำฝางกับน้ำกกมาบรรจบกันชาวบ้านจึงเรียกว่า  พระธาตุสบฝาง   

 ระเบียงของวัด ที่จัดไว้กว้างขวาง เหมาะสำหรับชมวิวยิ่งนัก

ข้างหน้าที่เห็นตรงๆนั้น คือ สวนส้ม Tap และ  สวนส้มธนาธร 8
ด้านซ้ายคือบ้านท่าตอน และวัดท่าตอน มองเห็นไกลๆ
ด้านขวาเป็นสะพานมิตรภาพ แม่นาวาง - ท่าตอน
             
                        พระธาตุสบฝาง ตั้งอยู่บนดอยสบฝาง บนฝั่งแม่น้ำกก ของอำเภอแม่อาย ห่างจากบ้านท่าตอนไปทางทิศตะวันออกไปประมาณ 4 กิโลเมตร ก่อสร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.923 1600 กว่าปีมาแล้ว โดยพระเจ้าพรหมมหาราช เจ้าเมืองไชยปราการ ที่ได้สร้างเจดีย์เอาไว้บนยอดเขาดอยสบฝาง เพื่อบรรจุพระนลาฏธาตุของพระพุทธเจ้า(กระดูกในส่วนหน้าผาก)


                        ที่แบ่งมาจากการบรรจุพระธาตุลงในพระธาตุจอมกิตติ  ของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน(ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอนาจักรโยนกนครหรือเชียงแสนสมัยก่อน)


             โดยสมัยก่อนพระเจ้าพรหมมหาราชได้รับมาจากพญาเรือนแก้วซึ่งเป็นบิดา ที่ได้รับพระราชทานมาจากพระองค์พังคราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ (ตามประวัตศาสตร์ของอนาจักรสิงหนวัติในสมัยพุทธศตวรรษที่พระพุทธโฆษาจารย์ได้เดินทางไปศึกษาธรรมะจากประเทศศรีลังกา และกลับเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอนาจักรพม่า มอญ สุโขทัยและโยนกนคร) โดยการกลับมาได้นำพระบรมธาตุมาถวายพระองค์พังราช กษัตริย์องค์ที่ 45 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติด้วย)
 

                      ต่อมาพระเจ้าพรหมหาราช ได้ให้ช่างหล่อพระพุทธรูปด้วยทองสัมฤทธิ์จำนวนมาก ซึ่งปัจุบันหลังจากในปี 2476 ได้เกิดไฟไหมและกระจายไปเก็บไว้ยังวัดต่างๆ ของอำเภอแม่อายอยู่หลายแห่ง
              ในปี 2467 ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ได้รับรู้ถึงตำนานของพระธาตุสบฝางจึงได้เดินทางมาบูรณะพระธาตุสบฝาง (ซึ่งข้าพเจ้าได้รับรู้มาว่า ยังมีเกจิอาจารย์มากมาย เช่นหลวงปู่โต๊ะ ที่ได้เดินทางมากราบไหว้พระธาตุสบฝางแห่งนี้)

               ในปี 2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฎ์ อดีตเจ้าคณะอำเภอแม่อายได้ทำการบูรณะพระเจดีย์อีกครั้งโดยใช้ปูนฉาบทับพระเจดีย์องค์เดิม ทำให้พระธาตุสบฝางเกิดความสวยงามจนถึงทุกวันนี้
               ในปี 2547 พระราชสิทธาจารย์ รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ (เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ) ได้เข้ามาฟื้นฟูและพัฒนา  พระธาตุสบฝางในปัจจุบันหลังจากมีการบูรณะแล้วในปี 2547

                 จากคำกล่าวของเจ้าอาวาสวัดพระธาตุสบฝาง  คำบอกเล่าของชาวบ้านใกล้เคียงและผู้เข้ามานั่งวิปัสนาซึ่งส่วนใหญ่ซึ่งเป็นคนกรุงเทพที่ศรัทธาในองค์พระธาตุ ได้เล่าว่า  องค์พระธาตุสบฝางจะแสดงอภินิหาร มีลำแสงดวงไฟสีเขียว พุ่งออกจากพระธาตุ ในช่วงของวันสำคัญ เช่น วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันออกพรรษา เป็นต้น โดยผู้ที่รักษาศีล และเจริญในธรรมเท่านั้นที่จะเห็นได้
 

                 พระธาตุจอมกิตติ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย ถือว่าเป็นพระธาตุองค์พี่ ของพระธาตุสบฝาง อำเภอแม่อาย ที่ก่อสร้างโดยพระเจ้าพรหมมหาราช ในเวลาไม่ห่างกันนัก


ประวัติหนองแปดหาบ
หนองแปดหาบ ซึ่งเป็นปากน้ำกก กับแม่น้ำฝางมาบรรจบกัน ณ ที่นี้เรียกว่าสบฝาง ซึ่งมีหนองแปดหาบ ทอดยาวไปตามตีนเขา ดอยพระธาตุสบฝาง เป็นระยะทางยาว ๘๐๐ วา กว้าว ๖๐๐ วา นับว่ากว้างใหญ่พอสมควร ในสมัยโบราณ ณ ที่ปากแม่น้ำกก กับแม่น้ำฝางมาบรรจบกันนี้ ที่เรียกว่า สบฝางนี้ มีถ้ำหนึ่ง ภายในหน้าถ้ำ เป็นวังน้ำวน ภายในถ้ำเป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูป บนหลังถ้ำสบฝางนี้ ได้มีปู่ผ้าขาวตนหนึ่ง มาจากเมืองกัมโภชะ ได้มาก่อเจดีย์ไว้เป็นที่สักการะบูชา ของคนทั้งหลายแล
ในขณะที่มีการก่อสร้าง พระธาตุสบฝางนั้น ได้มีพ่อค้าสองคนพี่น้องเป็นชาวเมืองกัมโพชะ มาทำมาค้าขาย ระหว่างเมืองชัยปราการ กับเมืองกัมโพชะ (เมืองกัมโภชะ อยู่ในเขตเมืองต่องกีของแคว้นไทยใหญ่ ในเขตพม่า ในปัจจุบัน) พ่อค้าสองคนพี่น้อง ได้นำสินค้าไปขายในเมืองเชียงแสน ขากลับ ได้มาพบการสร้าง พระธาตุสบฝาง จึงได้หยุดขบวนวัวต่าง ได้ขึ้นไปร่วมทำบุญ เสร็จแล้ว ได้จ้างคนให้ทำแพเพื่อนำขบวนวัวต่างและลูกน้อง ข้ามจากหนองแปดหาบ ไปยังฝั่งตรงข้าม เพื่อเดินทางไปเมืองกัมโภชะ บังเอิญแพที่นำคณะพ่อค้า สองพี่น้องได้เกิดล่มกลางหนอง น้องชายของพ่อค้าได้เสียชีวิต พร้อมกับทองคำที่ได้จากการค้าขาย จากเมืองเชียงแสน มีจำนวน 8 หลังม้า ส่วนพี่ชายของพ่อค้า ก็ได้ไปสร้างเจดีย์ที่ดอยหมอก ระหว่างดอยสองลูก เรียกว่าพระธาตุสองพี่น้อง ซึ่งปรากฏอยู่จนปัจจุบันนี้ เรียกดอยพระธาตุน้ำค้าง (อยู่ในตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย) เหตุที่พ่อค้าเมืองกัมโภชะได้สร้างเจดีย์ไว้บนดอยน้ำค้างนี้ ก็เพื่ออุทิศส่วนกุศล ให้พ่อค้าผู้เป็นน้องชาย ที่เสียชีวิตจากแพล่ม ในกลางหนองแปดหาบ ตั้งแต่นั้นมา หนองสบฝาง ก็ได้ชื่อว่า หนองแปดหาบมาจนถึงปัจจุบันนี้

                   เหตุที่แพล่มกลางหนองนั้น ตำนานได้กล่าวไว้ว่า น้องชายของพ่อค้าได้ให้บริวารของเขา ยิงลูกของพญานาค (งู) แล้วเอามาเผาไฟสู่กันกิน พญานาคจึงโกรธ ออกจากถ้ำ มาปั่นน้ำในหนอง ให้เกิดฟองใหญ่ ในขณะที่แพของพวกพ่อค้า กำลังข้าม แพของพวกพ่อค้าก็แตกออกแล้วล่มจมลงในหนองนั้น

                      วัดพระธาตุสบฝาง ได้กลายเป็นวัดร้างมานับตั้งแต่เมืองชัยปราการได้ถูกขุนศึกแห่งพม่า ได้มาทำศึกสงคราม เพื่อแย่งชิงเอาพระนางสามผิว แห่งพระเจ้าฝาง ขุนศึกพม่าพระองค์นี้ ชื่อพญาสุทโธ ผู้มีกองทัพอันเกรียงไกร ได้ตีเอาเมืองชัยปราการ จากพระเจ้าฝาง จนสำเร็จ แต่หาได้พระนางสามผิวตามความประสงค์ไม่ เนื่องจากได้มีมหาดเล็กของพระเจ้าฝาง ได้ถวายชีวิต ปลอมตัวเป็นพระเจ้าฝางพร้อมกับ นางสนมผู้จงรักภัคดี ได้ขี่ม้าขาว กระโดลงน้ำบ่อซาววา สิ้นชีวิตในนั้น

                     ส่วนพระเจ้าสุทโธ คิดว่าพระนางสามผิว ได้กระโดดบ่อน้ำตาย จึงได้ไปสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองฝาง เรียกว่าวัดเวียงสุทโธ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ศาลจังหวัดฝาง และเรือนจำอำเภอฝาง ส่วนพระเจ้าฝาง ได้พาพระนางสามผิว และข้าทานบริวาร ไปประทับอยู่กับ พญาเมืองวชิรปราการ กำแพงเพชร จนสิ้นพระชนม์
                     ในปี พ.ศ.2467 ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งลานนาไทย ได้เดินธุดงค์ ไปเมืองเชียงแสน ไปแวะไปพัก ที่บนดอยพระธาตุสบฝาง ได้เห็นพระเจดีย์ อันเก่าแก่ชำรุดทรุดโทรม มีพระพุทธรูปมากมาย จึงให้คนอุปัฏฐาก นำหนังสือไปหาเจ้าเมืองฝาง เพื่อขอให้อุปถัมภ์ ที่จะบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุสบฝาง ท่านเจ้าเมืองฝาง ก็เกิดศรัทธา ได้พาประชาชน ไปร่วมการก่อสร้างพระธาตุสบฝาง โดยก่อหุ้มพระธาตุองค์เดิมให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ได้ทำพิธีสมโภช ถวายทานแก่พระสังฆเถระ แล้วท่านครูบาศรีวิชัย ก็ได้มอบวัดพระธาตุสบฝาง ให้แก่ ครูบาเตชา วัดแม่ฮ่างหลวง (วัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน)
                   เมื่อครูบาเตชา วัดแม่ฮ่างหลวงถึงแก่มรณภาพ ครูบาแก้ว กาวิชโย วัดแม่แหลง ตำบลแม่อาย ได้รับภาระดูแล วัดพระธาตุสบฝาง
                   ใน พ.ศ.2476 เกิดไฟไหม้วิหารวัดพระธาตุสบฝาง ครูบาแก้ว กาวิชโย จึงได้ขนย้ายพระพุทธรูป ไปฝากไว้ตามวัดต่างๆ มีวัดท่าตอน วัดสันโค้ง วัดแม่อายบ้านเด่น วัดแม่ฮ่างหลวง ซึ่งได้มีปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
                 เมื่อท่านครูบาแก้ว ถึงแก่มรณภาพ ครูบาก๋องคำ กัญจโน วัดแม่อายบ้านเด่น ได้รับการสืบทอด การรักษาดูแลต่อมา ครูบาก๋องคำ ได้สร้างศาลาการเปรียญ ไว้เป็นที่สำคัญ สร้างถังเก็บน้ำฝน ซ่อมองค์เจดีย์ มีการโบกปูนใหม่ เมื่อครูบาก๋องคำ มรณภาพลง พระครูโศภณเจติยาราม เจ้าคณะอำเภอฝางเป็นผู้ดูแลรักษา
                  จนมาถึง พ.ศ.2503 พระครูโสภณเจติยาราม ได้จัดให้พระครูสังฆรักษ์ธีระ ไปเป็นเจ้าอาวาส    พระครูสังฆรักษ์ธีระได้ไปอาราธนาพระราชสังวรพิมล (หลวงปู่โต๊ะ) แห่งวัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี เมเป็นผู้อุปถัมภ์ พระครูสังฆรักษ์ธีระ ลงมือก่อสร้างอุโบสถยังไม่ทันสำเร็จ ท่านพระครูสังฆรักษ์ ก็ถึงแก่มรณภาพไป พระครูวุฒิญาณพิศิษฎ์ เจ้าคณะอำเภอแม่อาย ได้ไปขอพระปฏิบัติธรรม แห่งสำนักอาจารย์สนอง เรียกว่า สำนักสังฆทาน มาบริหาร เผยแผ่สั่งสอนการปฏิบัติธรรม ท่านได้มาอยู่เมตตาได้ 2 พรรษา แล้วก็ลากลับ
                     ต่อจากนั้น พระครูวุฒิญาณพิศิษฏ์ เจ้าคณะอำเภอได้มอบหมายให้พระครูคำบาง อชิโต เจ้าคณะตำบลแม่นาวางเป็นผู้ดูแล วัดพระธาตุสบฝาง พ.ศ.2532 พระครูวุฒิญาณพิศิษฏ์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง เจ้าคณะอำเภอแม่อาย แล้วได้ไป ควบคุมดูแล และพาพระภิกษุ สามเณรไปจำพรรษา ได้ทำการก่อสร้าง ถาวรวัตถุหลายอย่าง เช่น อุโบสถ วิหารจตุรมุข และเสนาสนะอื่นๆ อีก

                      จนถึง พ.ศ.2534 พระครูศิลาจารโสภิส ได้ถึงแก่มรณภาพ ทางคณะสงฆ์ ตำบลแม่นาวาง ได้เสนอแต่งตั้ง พระครูวุฒิญาณพิศิษฏ์ เป็นเจ้าอาวาส วัดพระธาตุสบฝาง และได้จัดสร้างสถานที่ มีกุฏิกัมมัฏฐาน สร้างห้องน้ำให้พอเพียงกับผู้ที่มาพัก สร้างถังเก็บน้ำฝนไว้ใช้บริโภค

                       มาจนถึงปี พ.ศ.2540 พระครูวุฒิญาณพิศิษฏ์ ได้ถึงแก่มรณภาพ วัดพระธาตุสบฝาง จึงได้อยู่ในความดูแลของ เจ้าคณะตำบล หมุนเวียนกันไปรักษา ดูแลพระธาตุสบฝาง จนถึงปัจจุบันนี้

 ขอบคุณข้อมูล ประวัติวัดพระธาตุสบฝาง จาก: Fangcity.com


การเดินทางไปวัดพระธาตุสบฝาง
                  ไปได้ สองทาง คือ ทางรถยนต์ มีถนนแยกจากบ้านสันโค้ง ตำบลแม่อาย ไปทางบ้านคายใน รถยนต์สามารถขับไปถึงบนพระธาตุ อีกทางหนึ่ง ลงเรือหางยาวจากบ้านท่าตอน ไปลงที่บันใดนาค ทางขึ้นวัดพระธาตุสบฝาง

 
ถ้าเดินทางตามถนนสาย 107  มาถึงบริเวณสวนส้มธนาธร ท่าตอน 
จะมีป้ายบอกทางไป วัดพระธาตุสบฝาง ผ่านสะพานสร้างใหม่ ข้ามแม่น้ำกก










แวะจอดดูวิวน้ำกกสวยๆ   

มาตามทางเรื่อยๆ จะเจอป้ายทางขึ้นวัด
ทางขึ้นร่มรื่นน่าดู  แต่ค่อนข้างแคบ และขึ้นเขานิดๆ แต่ไม่ชันมาก
 เจอประตูทางเข้าวัดแบบนี้  หากไม่สะดวกจะจอดไว้ข้างนอกประตู แล้วเดินมาก็ได้ นิดเดียว


ป้ายกำกับ

เที่ยวฝาง ที่พัก อ.ฝาง สถานที่ท่องเที่ยว อ.ฝาง โรงแรม อ.ฝาง สถานที่ท่องเที่ยว อ.แม่อาย อ.ฝาง เที่ยวแม่อาย ข้อมูล อ.ฝาง ดอยอ่างขาง ดอยอ่างขาง.ถนนขึ้นดอยอ่างขาง พระนางสามผิว พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก 0เดินขึ้นดอยสุเทพ $วันวิสาขบูชา กระเหรี่ยงคอยาว กษรินคอร์ท กาดเมืองผี กาดเมืองผี ไชยปราการ การเดินทาง ถนน เชียงใหม่ - ฝาง ถนนคนเดิน อ.ฝาง ถ้ำห้วยบอน ทอผ้าบ้านใหม่หมอกจ๋าม ทิวลิปดอยผาแดง ท่าเรือบ้านท่าตอน นั่งเรือแม่น้ำกก น้ำตกปู่หมื่น น้ำท่วมฝาง น้ำพุร้อน อ.ฝาง บ้านดินรีสอร์ท บ้านเมืองเหนือรีสอร์ท บ้านใหม่พัฒนา(นานาเผ่า) บ้านใหม่หมอกจ๋าม บ้านไม้หอมฮิโนกิ ประวัติ อ.ฝาง ประวัติ อ.แม่อาย ประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ปรีญาแมนชั่น ปะด่อง พระธาตุสบฝาง ภูแสนดาว ลาหู่ วัด อ.ฝาง วัดจองตก วัดจองออก วัดต้นรุง วัดพระธาตุสบฝาง วัดหมอกจ๋าม วัดเจดีย์งาม วัดใหม่หมอกจ๋าม สวนส้มธนาธร หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสูน หมายเลขโทรศัพท์ อ.ไชยปราการ อนุสาวรีย์ พระเจ้าฝาง-พระนางสามผิว อุทยานดอยฟ้าห่มปก เจ้าแม่มะลิกา เทศกาลกินเจ อ.ฝาง เที่ยวท่าตอน เมืองคอนวิลล่า เวียงแก้วรีสอร์ท เฮือนแสนฝาง แผนที่ ต.ท่าตอน แมนชั่นฝางวิลล่า โรงพยาบาล โรงเตี้ยมถ้ำง้อบ โรงแรมบ้านฝาง โรงแรมบ้านสบาย ไม้หอมฮิโนกิ

ค้นหาบล็อกนี้