ทักทายกันหน่อย

สวัสดีค่ะ สำหรับท่านที่หลงเข้ามาในบล็อคนี้ ^_^
ยินดีต้อนรับทุกคนจ๊า ฝางทริปบล็อคจัดทำขึ้นมาเพื่อรวบรวม ข้อมูลเกี่ยวกับ อ.ฝาง โดยหวังเล็กๆ ว่าคงจะเป็นประโยชน์กับใครสักคนที่จะเดินทางเข้ามาที่นี่ บทความและภาพถ่ายทั้งหมด แม้จะไม่ค่อยสวยแต่ก็หวงนะจ๊ะ ไม่อนุญาตให้ทำสำเนาหรือดัดแปลง หากต้องการเผยแพร่ รบกวนให้เครดิตบล็อคด้วยนะจ๊ะ

อ.ไชยปราการ

คำขวัญ
พระเจ้าพรหมสร้างเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม งามล้ำถ้ำตับเต่า เมืองเก่าไชยปราการ

อำเภอไชยปราการ
เป็นอำเภอใน จ.เชียงใหม่ อยู่ห่างจากตัวจ.เชียงใหม่ ประมาณ 128 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับซับซ้อน สล้บที่ราบเชิงเขา เป็นอำเภอที่มีภูเขาล้อมรอบถึง 3 ด้าน ได้แก่ ทิศใต้ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม

ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอไชยปราการตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้


  • ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอฝาง

  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอแม่สรวย (จังหวัดเชียงราย)

  • ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพร้าว

  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเชียงดาว และรัฐฉาน (ประเทศพม่า)


  • ข้อมูลสถิติ
             พื้นที่510.9 ตร.กม.ประชากร44,218 คน (พ.ศ. 2552)ความหนาแน่น86.54 คน/ตร.กม.


    ที่ว่าการอำเภอ

    เลขที่ 717 หมู่ที่ 2 ตำบลปงตำ อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ 50320
    พิกัด19°43′56″N, 99°8′25″Eหมายเลขโทรศัพท์0 5345 7006หมายเลขโทรสาร0 5345 7029

    การปกครองส่วนภูมิภาค
    อำเภอไชยปราการแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้แก่

    1.ปงตำ(Pong Tam)8 หมู่บ้าน
    2.ศรีดงเย็น(Si Dong Yen)18 หมู่บ้าน
    3.แม่ทะลบ(Mae Thalop)7 หมู่บ้าน
    4.หนองบัว(Nong Bua)11 หมู่บ้าน


    การปกครองส่วนท้องถิ่น
    ท้องที่อำเภอไชยปราการประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่ง ได้แก่                   
    • เทศบาลตำบลไชยปราการ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปงตำทั้งตำบล บางส่วนของตำบลศรีดงเย็น และบางส่วนของตำบลหนองบัว
    • เทศบาลตำบลศรีดงเย็น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีดงเย็น (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ)
    • เทศบาลตำบลแม่ทะลบ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแม่ทะลบทั้งตำบล
    • เทศบาลตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัว (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลไชยปราการ)
    ประวัติเมืองไชยปราการ                      
                          ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี    ในรัชสมัยของพระเจ้าพรหมมหาราชทรงครองราชย์อยู่ ณ เมืองไชยปราการนั้น บ้านเมืองในแว่นแคว้นโยนกเจริญรุ่งเรือง เต็มไปด้วยความวัฒนาผาสุข พระเกียรติยศของพระองค์รุ่งเรืองปรากฏไปทั่วทุกทิศ เหล่าปัจจามิตรก็มิอาจหล้ามาราวีด้วยเกรงในพระบรมเดชานุภาพและบุญญาธิการของพระองค์ ดูเหมือนพระองค์จะทรงถือกำเนิดมา เพื่อปราบยุคเข็ญในยามที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในเงื้อมมือของคนต่างชาติ
                        พระองค์ทรงถือกำเนิดมา เพื่อกอบกู้อิสรภาพของชาติไทยโดยแท้ เพราะในสมัยที่พระองค์ทรงถือกำเนิดปฏิสนธิมานั้น คือในปี พ.ศ. 1461 พระเจ้าพังคราชพระราชบิดาและพระมเหสีผู้เป็นมารดาของพระองค์ต้องถูกพวกขอมเนรเทศให้ออกจากอาณาจักรโยนกไปอยู่เมืองเล็กเมืองหนึ่ง
                       หลังจากที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงปราบพวกขอมสงบราบคาบ  ได้ทรงอัญเชิญให้พระราชบิดา คือพระเจ้าพังคราช เสด็จครองเมืองชัยบุรีเชียงแสน  (คือเชียงแสนกับฝางปัจจุบันนี้) ส่วนพระองค์ทรงคิดในอนาคต ไปข้างหน้าว่า เมื่อพวกขอมได้ปราชัยพวกไทย ในภายหลังพวกขอมอาจจะคิดการแก้แค้นอีกก็เป็นได้ พระเจ้าพรหม จึงได้กราบถวายเรื่องราว ให้พระราชบิดาทรงทราบ แล้วกราบลา พาเอาไพร่พล พร้อมทั้งช่างทั้งหลาย มีช่างตีเหล็ก ช่างทอง ช่างไม้ บัณฑิตผู้มีปัญญา พร้อมทั้ง พระสังฆมหาเถร อพยพไปทรงตั้งเมืองใหม่ขึ้น
                         พระองค์จึงเสด็จหาที่ตั้งราชธานีใหม่ ในที่สุดก็เสด็จมาถึงบริเวณแม่น้ำฝางตอนบน  ทางทิศตะวันตก ของเมืองเชียงแสน   เห็นเป็นที่ทำเลเหมาะดี ก็ทรงสร้างนครขึ้นที่นั่น เมื่อสร้างเสร็จแล้วจึงขนานนามเมืองว่า “เมืองไชยปราการ”
                         แล้วพระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปี พ.ศ. 1480 เมืองนั้นอยู่ห่างจากเมืองชัยบุรีเชียงแสน ระยะทางประมาณ 300 ก.ม.  การที่พระองค์ทรงสร้างเมืองชัยปราการนี้ขึ้นก็เพื่อจะให้เป็นเมืองหน้าด่าน เพื่อป้องกันข้าศึก ที่จะมาทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงแสน
                        เมืองไชยปราการที่กล่าวถึงนี้โปรเฟสเซ่อรแคมแมน นักสำรวจโบราณวัตถุแห่งมหาวิทยาลัยมลรัฐเพ็นซิลวาเนีย อเมริกา ให้ข้อสันนิษฐานว่า เมืองไชยปราการที่พระเจ้าพรหมมหาราชทรงสร้างขึ้นนั้นมิใช่ตัวเมืองฝางปัจจุบันนี้ แต่เป็นเวียงริมน้ำฝางทางทิศตะวันออก อยู่ในท้องที่ตำบลแม่งอน ทางทิศใต้ของอำเภอฝาง มีระยะทาง 32 ก.ม. ยังปรากฏรากกำแพงเมือง ซุ้มประตู และซากพระราชฐาน พระราชวังอยู่โดยชัดแจ้ง ส่วนตัวเมืองฝางนั้นเป็นเมืองที่สร้างขึ้นในภายหลัง
                        ในรัชสมัยพระเจ้าพรหมมหาราช เสด็จมาครองราชสมบัติ ณ เมืองไชยปราการนั้น
     แว่นแคว้นโยนก แบ่งออกเป็น 4 มหานคร คือ
    1. ไชยบุรีเชียงแสน เป็นราชธานี ภายหลังได้จมลงสู่พื้นธรณีในสมัยพระเจ้าไชยมหาชนะ หรือพระเจ้ามหาไชยชนะครองราชสมบัติอยู่   ปัจจุบันอยู่ในท้องที่ท่าข้าวเปลือก ไกลจากที่ว่าการอำเภอเชียงแสนไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทาง 112 ก.ม.
    2. เวียงไชยนารายณ์ คือท้องที่อำเภอเมืองเชียงรายในปัจจุบันนี้
    3. เวียงไชยปราการ อยู่ที่อำเภอฝางมาทางทิศใต้ระยะทางประมาณ 32 ก.ม.
    4. เวียงพานคำ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำสาย ในเขตอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ในปัจจุบันนี้
                       ในครั้งนั้น แว่นแคว้นโยนกนับว่ามีกำลังแข็งแรงมาก จนเป็นที่เกรงขามแก่หริราชศัตรู พระเจ้าพรหมมหาราช ได้ทรงวางกำลังป้องกันพวกขอมไว้อย่างแข็งแรง จนพวกขอมไม่กล้ายกกองทัพมารบกวนอีกตลอดรัชสมัยของพระองค์
                          พระเจ้าพรหมมหาราช มีราชโอรสองค์เดียว คือพระเจ้าสิริไชยหรือไชยสิริ พระองค์ทรงปกครองราชบัลลังค์ได้ 60 ปี เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1538 เมื่อพระชนม์มายุ 77 ปี เมื่อพระเจ้าพรหมมหาราชเสด็จสวรรคตแล้ว มุขมนตรีก็อัญเชิญพระเจ้าสิริไชยราชโอรส ขึ้นครองราชย์ปกครองบ้านเมืองเป็นกษัตริย์นครไชยปราการ อันดับที่ 2 สืบแทนต่อมา
                   พ.ศ. 1659  เป็นต้นราชวงค์เวียงไชยปราการ   ฝ่ายเสนาอำมาตย์  ได้อันเชิญพระเจ้าไชยศิริปราการ  พระราชโอรส ที่ประสูตรจากนางแก้วสุภา (ธิดากษัตริย์เวียงไชยนารายณ์)  ซึ่งตอนนั้นมีพระชนม์ได้  48   พรรษา  ขึ้นครองราชเวียงไชยปราการ ทรงครองราชได้ราว  11  ปี    ร่วงมาได้ พ.ศ.  1702  ก็ได้เกิดศึกเสียเมืองให้แก่ขุนเสือขวัญฟ้า  ผู้เป็นมหาราชอาณาจักรไทยเมาเมืองสุธรรมาวดี  และแสนหวี
                            พระเจ้าไชยศิริปราการร่วมกับนครไชยบุรี (เชียงแสน) และเวียงไชยนารายณ์  (ปัจจุบันเป็นเวียงปงชัยหรือปงเวียงชัย  ห่างจากเชียงรายไปทิศตะวันออกประมาณ 8  กิโล)    ทั้ง 3  กษัตริย์ก็มิอาจป้องกันได้  กองทัพปะทะกันตั้งแต่เดือน 7  ถึงเดือนอ้าย บริเวณที่ดอยขุนน้ำ   ตำบลห้วยเป้าและโป่งน้ำร้อน (เขตอำเภอเวียงป่าเป้า)  และที่ป่าสีถอย-หนองขวางหิน (อำเภอแม่สรวยปัจจุบัน) เมื่อสู้รบเจ้าแห่งอาณาจักรไทยเมาไม่ได้  ก็ให้โหรตรวจจะชาเมืองดู   โหรดูแล้วว่าชะตาเมืองขาดแล้ว จึงเก็บข้าวของที่มีอยู่หนีไป   แล้วเผาเมืองเสีย อพยพไพร่ฟ้าพลเมือง ไปสมทบกับไพร่พลที่เวียงไชยบุรี   ก็ไม่สามารถไปได้   ด้วยว่าฝนตกหนัก น้ำท่วมขนาดใหญ่  ท่วมแม่น้ำกก    เวียงไชยนารายณ์ก็ถูกทำลายเสียคราวนั้น  ใน พ.ศ. 1702 
                       พระเจ้าไชยศิริทรงอพยพครอบครัวพลเมืองมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้   มาทางผายาว (พะเยา) ทางดอยด้วน  (เขต จ.พะเยา)  ล่องตามลำน้ำงาวและน้ำยม  ผ่านมาทางผาหมื่นผาแสน (เทือกเขาระหว่างเขตปันแดนระหว่าง  อ.ลอง จ.แพร่  กับอำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย)  สู่แคว้นชะเลียง  ซึ่งเป็นบ้านเมืองที่เคยอยู่ในอาณาจักรโยนกเชียงแสนมาก่อน  โดยที่พระเจ้าพรหมมหาราชเคยขับไล่ขอมดำมาก่อน 
                            - สายกษัตริย์เวียงไชยบุรี  (โยนกเชียงแสน)  ….ได้ครองเมืองยาง (นครไทย)  พ.ศ. 1730  อนึ่งว่าแย่งเมืองสุโขทัยจากเขมร   พ่อขุนศรีอินทราทิตย์   เป็นกษัตริญ์องค์แรกของราชวงค์ไชยบุรี  (สายพี่)
    - สายกษัตริย์สายเวียงไชยนารายณ์   พระยาสร้อยหล้า (พระยาอู่ทอง) ครองเมืองอู่ทอง  ภายหลัง           พ.ศ.  1746
    -  สายกษัตริย์สายเวียงไชยปราการ  ได้ครองเมืองเพชรบุรี  ราว พ.ศ. 1747 
                               สายราชวงค์ไชยปราการนับว่า  ได้เป็นสายสำคัญ  ทำคุณประโยชน์แก่การสร้างชาติไทยเป็นเอนกปริยาย  เริ่มพระเจ้าพรหมมหาราชขับไล่ขอม ….โปรดให้พระราชโอรสพระเจ้าไกรสรไปครองเมืองลพบุรี   และพระเจ้าหลาน (พระเจ้าดวงเกรียงกฤษราชหรือพระเจ้าสายน้ำผึ้ง) ลงมาครองเมืองเสนา   อันเป็นต้นราชวงค์สายนี้    ได้เสด็จเข้ามาเป็นใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา   ( ราชวงค์เวียงไชยปราการมาถูกทำลายไปมาก  สมัยท้าวศรีดาจันทร์ขึ้นครองราช  (  จากประวัติชาติไทย ของพระบริหารเทพธานี  เล่ม  2    ศิลปาบรรณาคารจัดพิมพ์ พ.ศ. 2518  และจากหนังสือของจิตร  ภูมิศักดิ์  )
                               ต่อมาเมืองไชยปราการได้เสื่อมอำนาจลงเมื่อปี พ.ศ.1702  พระยามังราย (พ่อขุนเม็งราย)  ผู้สร้างเมืองเชียงราย ได้ขยายอำนาจและได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1839 ตรงบริเวณลุ่มแม่น้ำระมิงค์ (แม่น้ำปิง)  เป็นเมืองที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีความมั่นคงเข้มแข็งกว่างเมืองอื่น ๆ และพระองค์ทรงได้ขนานนามเมืองว่า “เมืองเชียงใหม่”  ดังนั้นเมืองไชยปราการจึงได้ถูกรวบรวมเข้ากับเมืองฝางและอยู่ในเขตอำเภอฝางในที่สุด

    อ่าน ประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ผู้สร้าง อ.ไชยปราการ  และวัดพระธาตุสบฝาง

    ป้ายกำกับ

    เที่ยวฝาง ที่พัก อ.ฝาง สถานที่ท่องเที่ยว อ.ฝาง โรงแรม อ.ฝาง สถานที่ท่องเที่ยว อ.แม่อาย อ.ฝาง เที่ยวแม่อาย ข้อมูล อ.ฝาง ดอยอ่างขาง ดอยอ่างขาง.ถนนขึ้นดอยอ่างขาง พระนางสามผิว พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) อุทยานแห่งชาติดอยฟ้าห่มปก 0เดินขึ้นดอยสุเทพ $วันวิสาขบูชา กระเหรี่ยงคอยาว กษรินคอร์ท กาดเมืองผี กาดเมืองผี ไชยปราการ การเดินทาง ถนน เชียงใหม่ - ฝาง ถนนคนเดิน อ.ฝาง ถ้ำห้วยบอน ทอผ้าบ้านใหม่หมอกจ๋าม ทิวลิปดอยผาแดง ท่าเรือบ้านท่าตอน นั่งเรือแม่น้ำกก น้ำตกปู่หมื่น น้ำท่วมฝาง น้ำพุร้อน อ.ฝาง บ้านดินรีสอร์ท บ้านเมืองเหนือรีสอร์ท บ้านใหม่พัฒนา(นานาเผ่า) บ้านใหม่หมอกจ๋าม บ้านไม้หอมฮิโนกิ ประวัติ อ.ฝาง ประวัติ อ.แม่อาย ประวัติพระเจ้าพรหมมหาราช ปรีญาแมนชั่น ปะด่อง พระธาตุสบฝาง ภูแสนดาว ลาหู่ วัด อ.ฝาง วัดจองตก วัดจองออก วัดต้นรุง วัดพระธาตุสบฝาง วัดหมอกจ๋าม วัดเจดีย์งาม วัดใหม่หมอกจ๋าม สวนส้มธนาธร หน่วยจัดการต้นน้ำห้วยสูน หมายเลขโทรศัพท์ อ.ไชยปราการ อนุสาวรีย์ พระเจ้าฝาง-พระนางสามผิว อุทยานดอยฟ้าห่มปก เจ้าแม่มะลิกา เทศกาลกินเจ อ.ฝาง เที่ยวท่าตอน เมืองคอนวิลล่า เวียงแก้วรีสอร์ท เฮือนแสนฝาง แผนที่ ต.ท่าตอน แมนชั่นฝางวิลล่า โรงพยาบาล โรงเตี้ยมถ้ำง้อบ โรงแรมบ้านฝาง โรงแรมบ้านสบาย ไม้หอมฮิโนกิ

    ค้นหาบล็อกนี้